Last Updated on 18 พฤษภาคม 2020 by Administrator
แนวทางการเปิด-ปิดภาคเรียน และการสอนชดเชยปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แนวทางการเปิด-ปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2563
- ภาคเรียนที่ 1/2563
– เรียนตั้งแต่ 1 ก.ค.-13 พ.ย.2563 จำนวนวันเรียน 93 วัน
– ปิดภาคเรียน 14-30 พ.ย.63 รวม 17 วัน - ภาคเรียนที่ 2/2563
– เรียนตั้งแต่ 1 ธ.ค.63-9 เม.ย.64 จำนวนวันเรียน 88 วัน
– ปิดภาคเรียน 10 เม.ย.-16 พ.ค.64 รวม 37 วัน
เท่ากับว่า ปีการศึกษา 2563 นักเรียนจะมีเวลาเรียนรวมทั้งสิ้น 181 วัน ซึ่งโครงสร้างเวลาเรียนระดับชั้นอนุบาล กำหนดไว้ 180 วัน/ปี จึงไม่ต้องชดเชยยกเว้นระดับชั้นประถม-มัธยมต้น-มัธยมปลาย กำหนดไว้ 200 วัน/ปี ดังนั้นส่วนเวลาที่ขาดหายไป 19 วัน โรงเรียนจึงต้องสอนชดเชยเพื่อให้นักเรียนเรียนครบตามหลักสูตร โดยภาคเรียนที่ 1 สอนชดเชย 7 วัน และภาคเรียนที่ 2 สอนชดเชย 12 วัน
แนวทางการสอนชดเชย
สำหรับเวลาเรียนที่ขาดไปในแต่ละภาคเรียน สพฐ.ได้กำหนดให้โรงเรียนเลือกใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่ง หรือหลายวิธี ดังนี้
- เรียนที่โรงเรียน ซึ่งเป็นการเพิ่มเวลาเรียนในแต่ละวัน หรืออาจจะเลือกเรียนวันเสาร์หรืออาทิตย์ก็ได้
- เรียนที่บ้าน ครูผู้สอนสามารถกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ใช้เวลาสอดคล้องกับตารางสอน โดยมอบหมายให้นักเรียนเรียนรู้จากใบงาน จากสถานการณ์จริง จากการส่งเสริมการอ่าน ฯลฯ หรือสอนตามแนวทาง Flipped Classroom
- เรียนผ่านออนไลน์ โดยเลือกใช้สื่อออนไลน์และสาระการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัย เนื้อหา และวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้นักเรียนเรียนรู้ ซึ่งนำมานับชั่วโมงการเรียนได้
ด้วยนโยบายดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ “ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ” ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพิ่มเวลาพักของนักเรียน ลดการประเมิน และงดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็น โดยเน้นเรียนเฉพาะวิชากลุ่มสาระหลัก เพื่อให้นักเรียนผ่อนคลายลงนั่นเอง